วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อสอบ วิทย์53-57


ตอบ 3 ในทุกวันจะปรากฎมีน้ำขึ้นและน้ำลงวันละ 2 ครั้ง น้ำขึ้นและน้ำลงเป็นผลมาจากแรงดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ดวงจันทร์นั้นเป็นบริวารของโลก เมื่อหมุนผ่านไปจุดใดของโลกก็จะทำให้น้ำบนผิวโลกขึ้นพร้อมกัน 2 ส่วน คือ บริเวณที่อยู่ตรงกับดวงจันทร์ และอีกส่วนหนึ่งคือ บริเวณที่อยู่ตรงข้ามกับจุดที่มีน้ำขึ้น ในรอบ 1 ปี จะมีน้ำขึ้นมากที่สุด 2 ครั้ง
น้ำขึ้นน้ำลงน้ำขึ้นน้ำลงเกิดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ถึงแม้ว่าดาวอาทิตย์จะมีมวล 27 ล้านเท่าของดวงจันทร์ แต่ดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลก 93 ล้านไมล์ ส่วนดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของโลกนั้น อยู่ห่างจากโลกเพียง 240,000 ไมล์ ดังนั้นดวงจันทร์ จึงส่งแรงดึงดูดมายังโลกมากกว่าดวงอาทิตย์ และน้ำที่เกิดจากแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์จะสูงเพียง ร้อยละ 46 ของระดับน้ำที่สูงจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์
น้ำซึ่งเป็นของเหลว เมื่อถูกแรงดึงดูดจากดวงจันทร์ ในขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านบริเวณนั้น น้ำก็จะสูงขึ้น ไปในทิศทางเดียวกับที่ดวงจันทร์ปรากฏ และบนผิวโลกในด้านตรงข้ามกับดวงจันทร์ น้ำจะสูงขึ้นด้วย เพราะอำนาจดึงดูดของดวงจันทร์ กับของโลกไปรวมกันในทิศทางนั้น และในตำแหน่งที่คนเห็นดวงจันทร์ อยู่สุดลับขอบฟ้า ตรงนั้นน้ำจะลดลงมากที่สุด จึงเท่ากับว่ามีน้ำขึ้น น้ำลง สองแห่งบนโลกในเวลาเดียวกัน

น้ำจะขึ้นสูง เต็มที่ทุกๆ 12 ชั่วโมง โดยประมาณ และหลังจากน้ำขึ้นเต็มที่แล้ว ระดับน้ำจะเริ่มลดลง ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง แต่เนื่องจากดวงจันทร์หมุนรอบโลกจากตะวันตกไปตะวันออก หนึ่งรอบกินเวลาประมาณ 29 วัน น้ำขึ้นและน้ำลงจึงช้ากว่าวันก่อน ไปประมาณ 50 นาที หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ในหนึ่งวัน หรือ 24 ชั่วโมง 50 นาที น้ำจะสูงขึ้น และลดลง 2 ครั้ง
ความแตกต่างระหว่างระดับน้ำสูงสุดกับระดับน้ำต่ำสุด แต่ละแห่งบนโลกจะไม่เท่ากัน โดยเฉลี่ยจะขึ้นหรือลงประมาณ 3-10 ฟุต ซึ่งสาเหตุประการหนึ่งเกิดจากตำแหน่งของดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์
เมื่อโลก และดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ มาอยู่ในแนวเดียวกัน ไม่ว่าดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์จะอยู่ข้างเดียว หรือคนละข้างกับโลก น้ำจะสูงขึ้นกว่าปกติ เรียกว่า น้ำเกิด (spring tide) ซึ่งจะเกิดขึ้นเดือนละ 2 ครั้ง คือใกล้วันขึ้น 15 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ
และเมื่อใดที่ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ อยู่ในแนวตั้งฉาก ซึ่งกันและกัน ระดับน้ำจะไม่สูงขึ้น แต่จะอยู่ในระดับเดิม ไม่ขึ้นไม่ลง เรียกว่า น้ำตาย จะเกิดขึ้นเดือนละ 2 ครั้ง เช่นเดียวกับน้ำเกิด คือใกล้วันขึ้น 8 ค่ำ และวันแรม 8 ค่ำ
ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งที่น้ำขึ้นมากขึ้นน้อย ลงมากลงน้อย เกี่ยวกับขนาดรูปร่างและความลึกของท้องมหาสมุทรด้วย อย่างเช่นเกาะแก่งต่างๆ จะต้านการขึ้นลงของกระแสน้ำได้มาก ในหมู่เกาะตาฮิติ ระดับน้ำจะขึ้นสูงเพียง 1 ฟุตเท่านั้น แต่บริเวณแผ่นดินที่เป็นรูปกรวย หันปากออกไปสู่ทะเล จะรับปริมาณของน้ำได้มาก เช่นปากอ่าวของแคว้น โนวาสโคเตียน แห่งแคนดีทางตะวันออกของอเมริกาเหนือ น้ำจะขึ้นสูงถึง 40 ฟุต

ที่มา http://www.icphysics.com/modules.php?name=News&file=article&sid=36

ข้อสอบวิทย์ 53-57


ตอบ 1

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic disturbance) โดยการทำให้สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสนามไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก หรือถ้าสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามขวาง ประกอบด้วยสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีการสั่นในแนวตั้งฉากกัน และอยู่บนระนาบตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง จึงสามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้

ที่มา http://physics.science.cmu.ac.th/Scripts/webboard/00752.html

ข้อสอบ วิทย์53-57


ตอบ 1

เมื่อเราสบัดเชือกขึ้นลง จะทำให้เกิดคลื่นตามขวางขึ้นในเส้นเชือก โดยคลื่นที่เกิดขึ้นจะเคลื่อนที่ไปยังอีกปลายด้านหนึ่งของเชือก
เมื่อเราสบัดเชือกเร็วขึ้น ความยาวคลื่นในเส้นเชือกก็จะลดลงโดยถือว่าความเร็วของคลื่นในเส้นเชือกด้วยอัตราเร็วคงตัว
เมื่อเราสบัดเชือกขึ้นลง ให้เกิดคลื่นดล ผ่านรอยต่อของเส้นเชือก 2 เส้นที่มีขนาดไม่เท่ากัน เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปพบรอยต่อจะเกิด
การสะท้อนและหักเห จากรูปคลื่นเคลื่อนที่จากความเร็วมากไปหาความเร็วน้อย โดยคลื่นสะท้อนจะมีเฟสเปลี่ยนไป 180 องศา
เมื่อเราสบัดเชือกให้เกิดคลื่นดล ในเส้นเชือกซึ่งปลายด้านหนึ่งตรึงไว้ คลื่นสะท้อนจะมีเฟสเปลี่ยนไป 180 องศา
เมื่อเราสบัดเชือกให้เกิดคลื่นดล ในเส้นเชือกปลายอิสระ คลื่นสะท้อนจะมีเฟสคงเดิม

ที่มา http://www.pt.ac.th/ptweb/prajead/wave/basic/basic1/tran.html

ข้อสอบวิทย์ 53-57


ตอบ 4

ที่มา http://phnote.blogspot.com/2007/05/blog-post_07.html

ข้อสอบวิทย์ ข้อ 53-57


ตอบ 3


เรื่อง การสะท้อนของแสงและการเกิดภาพจากกระจกเงา

1. การสะท้อนของแสง
1.1 สัญลักษณ์ของลำแสง

การเขียนแนวลำแสงหรือรังสีให้เขียนเป็นเส้นตรงที่มีหัวลูกสรกำกับแกนแนวลำแสง และเรียกสัญลักษณ์นี้ว่า รังสีแสง รังสีแสงมีหลายอย่าง เช่น รังสีขนาน รังสีลู่เข้า รังสีลู่ออก



รังสีขนาน รังสีลู่เข้า รังสีลู่ออก

การสะท้อนแสงบนกระจกเงาระนาบสามารถเขียนรูปได้ดังนี้


รังสีตกกระทบ (Incident Ray) คือรังสีของแสงที่พุ่งเข้าหาพื้นผิวของวัตถุ
รังสีสะท้อน (Reflected Ray) คือรังสีของแสงที่พุ่งออกจากพื้นผิวของวัตถุ
เส้นปกติ (Normal) คือ เส้นที่ลากตั้งฉากกับพื้นผิวของวัตถุตรงจุดที่แสงกระทบ
มุมตกกระทบ (Angle of Incidence) คือมุมที่รังสีตกกระทบทำกับเส้นปกติ
มุมสะท้อน (Angle of Reflection) คือมุมที่รังสีสะท้อนทำกับเส้นปกติ

กฎ การสะท้อนของแสง (The Laws of Reflection) มี 2 ข้อ ดังนี้
1. รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นปกติจะอยู่ในระนาบเดียวกัน
2. มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน

ที่มา http://thenestacademy.is.in.th/?md=webboard&ma=showtopic&id=402

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิทย์ o-net 2550

http://cid-7172dc903208680c.skydrive.live.com/browse.aspx/%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c%20%e0%b8%a1.6?uc=1&nl=1

นาย นักรบ นุรักษ์ดีศรี ม.6/2 เลขที่ 11
น.ส พรกัมปนาถ แสงหล่อ ม.6/2 เลขที่ 30