วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

ประเมินผลงาน 100 คะแนน

ขอให้เพิ่อนๆ ครู ญาติและผู้มีเกียรติทั้งหลายร่วมประเมินผลงาน โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน
ขอขอบคุณทุกท่าน
- เพื่อนประเมินเพื่อน จำนวน 5 คน

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รังสีแกมมา

รังสีแกมมา(Gamma Ray) ใช้สัญลักษณ์ เกิดจากการที่นิวเคลียสที่อยู่ในสถานะกระตุ้นกลับสู่สถานะพื้นฐานโดยการปลดปล่อยรังสีแกมมาออกมา รังสีแกมมา ก็คือโฟตอนของการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกับรังสีเอ็กซ์ แต่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าและมีอำนาจในการทะลุทะลวงสูงมากกว่ารังสีเอ็กซ์ ไม่มีประจุไฟฟ้าและมวล ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าและสนามแม่ เหล็กและ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าแสง



ที่มา http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/102/1/nuclear1/nuclear_9.htm

รังสีเอกซ์

รังสีเอกซ์
รังสีเอกซ์ (X-Ray) ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1895 โดยนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ เรินต์เกน ได้พบรังสีนี้โดยบังเอิญ ในขณะที่เขาทำการทดลองเกี่ยวกับรังสีคาโทดในห้องมืดสนิท เขาสังเกตว่า แร่แบเรียมแพลทิโนไซยาไนด์เกิดเรืองแสงขึ้น ทำให้คิดว่าจะต้องมีรังสีบางอย่างเกิดขึ้นจากหลอดรังสีแคโทดและมีอำนาจทะลุผ่านสูงจนสามารถผ่านผนังหลอดคาโธดไปยังก้อนแร่ได้ เรินต์เกนเรียกรังสีนี้ว่า รังสีเอกซ์ ซึ่งภายหลังนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาและทดลองเกี่ยวกับรังสีชนิดนี้มากขึ้นและสรุปคุณสมบัติของรังสีเอกซ์ได้ดังนี้
1. รังสีเอกซ์เป็นทั้งคลื่นและอนุภาค การที่มีสมบัติเป็นคลื่นเพราะมีการสะท้อน การหักเห การแทรกสอดและการเลี้ยวเบน และเป็นอนุภาคเพราะมีโมเมนตัมเหมือนอนุภาคทั่วไป
2. รังสีเอกซ์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่สามารถที่จะถูกเบี่ยงเบนโดยสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงประมาณ 1.3 x 10-11 ถึง 4.8 x 10-11 เมตร จึงไม่สามารถมองเห็นได้
3. รังสีเอกซ์ประกอบด้วยรังสีที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกันมาก เคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วแสงคือมีค่า 3x108 m/s ในสุญญากาศ
4. รังสีเอกซ์สามารถทะลุผ่านวัตถุที่ไม่หนาจนเกินไปและมีความหนาแน่นน้อยๆได้ เช่น กระดาษ ไม้ เนื้อเยื่อของคนและสัตว์ แต่ถ้าผ่านวัตถุที่มีความหนาแน่นมาก ๆ เช่น แพลตินัม ตะกั่ว กระดูก อำนาจทะลุผ่านก็จะลดลง
5. รังสีเอกซ์สามารถทำให้อากาศแตกตัวเป็นอิออนได้
6. รังสีเอกซ์สามารถทำให้ผลึกบางชนิดเรืองแสงและแสงที่เรืองออกมาสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้
7. รังสีเอกซ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้ เช่นเมื่อรังสีเอกซ์ไปถูกฟิลม์ถ่ายรูปจะทำให้ฟิลม์ดำ จึงนำผลอันนี้มาใช้ในการถ่ายภาพบนฟิลม์เอกซ์เรย์



http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/quantum/quantum2/quantum_19.htm">http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/quantum/quantum2/quantum_19.htm

ที่มา www.rmutphysics.com

การแทรกสอดของคลื่น(Interference)

การแทรกสอดของคลื่น(Interference)

--------------------------------------------------------------------------------

เมื่อมีคลื่นต่อเนื่องจากแหล่งกำเนิดคลื่นสองแหล่งที่มีความถี่เท่ากันและเฟสตรงกันเคลื่อนที่มาพบกัน จะเกิดการซ้อนทับระหว่างคลื่นต่อเนื่องสองขบวนนั้น ปรากฎการณ์เช่นนี้เรียกว่า การแทรกสอดของคลื่น (Interference)

1.การแทรกสอดแบบเสริมกัน เกิดจากสันคลื่นของคลื่นทั้งสองมารวมกัน คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะมีวันคลื่นสูงกว่าเดิม และมีท้องคลื่นลึกกว่าเดิม และจะเรียกตำแหน่งนั้นว่า ปฏิบัพ(Antinode)

2.การแทรกสอดแบบหักล้าง เกิดจากสันคลื่นจากแหล่งกำเนิดหนึ่งมารวมกับท้องคลื่นของ อีกแหล่งกำเนิดหนึ่ง คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะมีสันคลื่นต่ำกว่าเดิม และท้องคลื่นตื้นกว่าเดิม และเรียกตำแหน่งนั้นว่า บัพ(Node)
ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/skn42/phy67/interference.htm

การเลี้ยวเบนของคลื่น

การเลี้ยวเบนของคลื่น



เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวาง คลื่นส่วนที่กระทบสิ่งกีดขวางจะสะท้อนกลับคลื่นบางส่วนที่ผ่านไปได้จะสามารถแผ่จากขอบของสิ่งกีดขวางเข้าไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางนั้น คล้ายกับคลื่นเคลื่อนที่อ้อมผ่านสิ่งกีดขวางนั้นได้ เรียกว่า การเลี้ยวเบนของคลื่น


การเลี้ยวเบนของคลื่นน้ำผ่านช่องเดี่ยว



เมื่อคลื่นน้ำหน้าตรงตกกระทบสิ่งกีดขวางที่มีช่องเดี่ยวกว้าง d จะเกิดการเลี้ยวเบน

เมื่อหน้าคลื่นที่ผ่านช่องเดี่ยวไปได้นั้นทุก ๆ จุดจะทำหน้าที่เสมือนเป็นจุดกำเนิดคลื่น กระจายคลื่นไปเสริมกันหรือหักล้างกัน เกิดเป็นแนวบัพและแนวปฏิบัพ







สูตรการคำนวณหาแนวบัพ

d sin q = nl



สูตรการคำนวณหาแนวปฏิบัพ

d sin q = ( n + )l


ที่มา http://www.absorn.ac.th/e-learning/ebook/supatra/b1.htm

การหักเหของคลื่น(Refraction)

การหักเหของคลื่น(Refraction)
--------------------------------------------------------------------------------

เมื่อให้คลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลาหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่ง เช่น คลื่นน้ำลึกเคลื่อนที่จากน้ำลึกเข้าสู่บริเวณน้ำตื้น จะทำให้ความยาวคลื่นของคลื่นน้ำจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย การที่คลื่นน้ำเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่งแล้วทำให้อัตรา เร็วและความยาวคลื่นเปลี่ยนไปแต่ความถี่คงที่ เรียกว่า "การหักเหของคลื่น" และคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านรอยต่อ ระหว่างตัวกลางไปเรียกว่า "คลื่นหักเห"
ในการหักเหของคลื่นจากตัวกลางหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่ง จะทำให้ความเร็ว และความยาวคลื่นเปลี่ยนไป แต่ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นอาจจะไม่เปลี่ยน หรือเปลี่ยนไปจากแนวเดิมก็ได้

ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/skn42/phy67/refraction.htm

การสะท้อนของคลื่น

การสะท้อนของคลื่น Reflection
เมื่อคลื่นเคลี่ยนที่ไปชนกับสิ่งกีดขวาง หรือเคลื่อนที่ไปยังปลายสุดของตัวกลาง หรือระหว่างรอยต่อของตัวกลาง คลื่นส่วนหนึ่งจะเคลื่อนที่กลับมาในตัวกลางเดิม เรียกว่า การสะท้อนของคลื่น และคลื่นที่สะท้อนกลับมา เรียกว่า คลื่นสะท้อน ส่วนคลื่นที่ไปกระทบปลายสุดของตัวกลางก่อนเกิดการสะท้อนเรียกว่า คลื่นตกกระทบ

ที่มา http://www.skn.ac.th/skl/skn42/phy67/reflect.htm

แอมพลิจูด

แอมพลิจูด
amplitude

ระยะการกระจัดที่มีค่ามากที่สุดจากแนวสมดุลไปยังเส้นคลื่นหรือท้องคลื่นแอมพลิจูด เป็นตัวแสดงถึงพลังงานของคลื่น ถ้าแอมพลิจูดสูง แสดงว่าพลังงานของคลื่นมีค่ามาก ถ้าแอมพลิจูดต่ำ พลังงานของคลื่นมีค่าน้อย


แอมพลิจูดของคลื่นน้ำ แสดงถึง ความสูงต่ำของการกระเพื่อมของน้ำ

แอมพลิจูดของคลื่นเสียง แสดงถึง ความดัง – ค่อย ของเสียง

แอมพลิจูดของคลื่นแสง แสดงถึง ความเข้มของแสง (มืด – สว่าง)




ที่มา http://www.electron.rmutphysics.com/physics-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=1105&Itemid=88

คาบของคลื่น

คาบ (period) หมายถึง ช่วงเวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ครบหนึ่งลูกคลื่น แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นวินาทีต่อรอบ (s)

ที่มา http://www.mindphp.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=54

ความถี่

ความถี่ (frequency) หมายถึง จำนวนลูกคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ในหนึ่งหน่วยเวลา แทนด้วยสัญลักษณ์ f มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (s-1) หรือ เฮิรตซ์ (Hz)

ที่มา http://www.mindphp.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=54

อัตราเร็วของคลื่น

อัตราเร็วของคลื่น (wave speed) หาได้จากผลคูณระหว่างความยาวคลื่นและความถี่

http://www.mindphp.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=54

ท้องคลื่น

ท้องคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางลบแอมพลิจูด (Amplitude) เป็นระยะการกระจัดมากสุด ทั้งค่าบวกและค่าลบ
ที่มา http://www.mindphp.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=54

สันคลื่น

สันคลื่น หรือ ยอดคลื่น (ส่วนที่มีค่าสูงขึ้น) และ ท้องคลื่น (ส่วนที่มีค่าต่ำลง) ในลักษณะ ตั้งฉากกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามขวาง" (transverse wave) หรือ ขนานกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามยาว" (longitudinal wave)
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99

คลื่นต่อเนื่อง

คลื่นต่อเนื่อง
continuous wave
เป็นคลื่นที่เกิดจากการรบกวนโมเลกุลของผิวน้ำด้วยการให้พลังงานภายนอกหลาย ๆ ครั้ง ทำให้เกิดคลื่นหลาย ๆ ลูกติดต่อกัน เช่น คลื่นน้ำที่เกิดจากการใช้มอเตอร์ทำให้เกิดคลื่นน้ำต่อเนื่อง

ที่มา http://www.electron.rmutphysics.com/physics-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=677&Itemid=62

คลื่นดล

คลื่นดล
puse wave
คลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดสั่นเพียงครั้งเดียวหรือ 2 ครั้ง ทำให้เกิดคลื่นเพียง 1 หรือ 2 ลูกคลื่นเท่านั้น เช่น การโยนก้อนหินก้อนเดียวลงในน้ำ จะพบว่าคลื่นดลเพียงกลุ่มหนึ่งกระจายออกไปโดย รอบ ๆ
คลื่นดลอาจมีลักษณะกระจายออกจากแหล่งกำเนิดเป็นแนวตรงหรือเป็นวงกลมก็ได้ แล้วแต่แหล่งกำเนิดที่ทำให้เกิดคลื่น
ที่มา http://www.electron.rmutphysics.com/physics-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=691&Itemid=62

คลื่นตามยาว

คลื่นตามยาว (longitudinal waves) เป็นคลื่นที่ส่งผ่านไปในตัวกลางแล้วทำให้อนุภาคในตัวกลางเคลื่อนที่ตามแนวขนานกับ ทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นเสียง , คลื่นในสปริง เป็นต้น ซึ่งจากรูปเป็นคลื่นในท่ออากาศที่เกิดจากอัดลูกสูบที่ ปลายข้างหนึ่ง ของท่อแล้วทำให้อนุภาคของอากาศในท่อจะสั่นในแนวซ้ายขวารอบตำแหน่งสมดุลทำให้เกิดส่วนอัดและส่วนขยาย ซึ่งจะขนานกับ ทิศทางของอัตราเร็ว ของการเคลื่อนที่ของคลื่น (v)

ที่มา http://www.rsu.ac.th/science/physics/pom/physics_2/wave/wave_1.htm

คลื่นแนวนอน

คลื่นแนวนอน คลื่นพวกนี้เรามองตัวคลื่นไม่เห็นหรอกครับ
เพราะมันเป็นพลังงานไม่ใช่สสารที่เราเห็นๆ กันนั้นที่แท้เป็นเพียงเส้นกราฟ ที่เขาี่แสดงระดับพลังงานของมันเท่านั้นเอง ตัวอย่างของคลื่นประเภทนี้มีมากมาย ได้แก่ คลื่นเสียง , คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( electromagnetic waves ) ซึ่งเจ้าคลื่นตัวหลังสุดนี่แหละที่มีอิทธิพลต่อชีวิตเรา ต่อความเจริญก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารมากที่สุด จนเกิดคำพูดว่า " ยุคโลกไร้พรหมแดน " ล่ะครับ ตัวอย่างของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เราๆ ท่านๆ คุ้นเคยกันดี ได้แก่ คลื่นวิทยุ-โทรทัศน์ุ ( ซึ่งมีหลายระดับอีก) , คลื่นไมโครเวฟ ( เจ้านี่แหละที่ใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคมมากที่สุด)
พวกสัญาญเรด้าต่างๆ , แสง (light = จะเห็นว่าแสงก็เป็นคลื่นพวกนี้ด้วยเช่นกัน) รังสี x- ray , รังสีแกมม่า.....อะไรอีกเยอะแยะ การเคลื่อนที่ของคลื่นแนวนอนมันจะเคลื่่อนต่อเนื่องกันไปตามแนวนอน คล้ายกับการเคลื่อนที่ของลูกกระสุนปืนกล

ที่มา http://www.rmutphysics.com/CHARUD/oldnews/146/science/waves.htm

คลื่นตามขวาง

1. คลื่นตามขวาง หรือคลื่นแนวดิ่ง....ซึ่งเป็นคลื่นที่เรามองเห็นได้ง่ายและชัดเจน เช่นคลื่นน้ำ , คลื่นในเส้นเชือก เมื่อเราสบัดปลายเชือกที่ปลายอีกข้างหนึี่งผูกเอาไว้ครับ
ที่มา www.rmutphysics.com

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic disturbance) โดยการทำให้สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสนามไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก หรือถ้าสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้า

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามขวาง ประกอบด้วยสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีการสั่นในแนวตั้งฉากกัน และอยู่บนระนาบตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง จึงสามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้

สเปกตรัม (Spectrum) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่และความยาวคลื่นแตกต่างกัน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ คลื่นแสงที่ตามองเห็น อัลตราไวโอเลต อินฟราเรด คลื่นวิทยุ โทรทัศน์ ไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น

ดังนั้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จึงมีประโยชน์มากในการสื่อสารและโทรคมนาคม และทางการแพทย์

สมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

1. ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่

2. อัตราเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดในสุญญากาศเท่ากับ 3x108m/s ซึ่งเท่ากับ อัตราเร็วของแสง

3. เป็นคลื่นตามขวาง

4. ถ่ายเทพลังงานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง

5. ถูกปล่อยออกมาและถูกดูดกลืนได้โดยสสาร

6. ไม่มีประจุไฟฟ้า

7. คลื่นสามารถแทรกสอด สะท้อน หักเห และเลี้ยวเบนได้

1. คลื่นวิทยุ

คลื่นวิทยุมีความถี่ช่วง 104 - 109 Hz( เฮิรตซ์ ) ใช้ในการสื่อสาร คลื่นวิทยุมีการส่งสัญญาณ 2 ระบบคือ

1.1 ระบบเอเอ็ม (A.M. = amplitude modulation)

ระบบเอเอ็ม มีช่วงความถี่ 530 - 1600 kHz( กิโลเฮิรตซ์ ) สื่อสารโดยใช้คลื่นเสียงผสมเข้าไปกับคลื่นวิทยุเรียกว่า "คลื่นพาหะ" โดยแอมพลิจูดของคลื่นพาหะจะเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณคลื่นเสียง

ในการส่งคลื่นระบบ A.M. สามารถส่งคลื่นได้ทั้งคลื่นดินเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงขนานกับผิวโลกและคลื่นฟ้าโดยคลื่นจะไปสะท้อนที่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ แล้วสะท้อนกลับลงมา จึงไม่ต้องใช้สายอากาศตั้งสูงรับ

1.2 ระบบเอฟเอ็ม (F.M. = frequency modulation)

ระบบเอฟเอ็ม มีช่วงความถี่ 88 - 108 MHz (เมกะเฮิรตซ์) สื่อสารโดยใช้คลื่นเสียงผสมเข้ากับคลื่นพาหะ โดยความถี่ของคลื่นพาหะจะเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณคลื่นเสียง

ในการส่งคลื่นระบบ F.M. ส่งคลื่นได้เฉพาะคลื่นดินอย่างเดียว ถ้าต้องการส่งให้คลุมพื้นที่ต้องมีสถานีถ่ายทอดและเครื่องรับต้องตั้งเสาอากาศสูง ๆ รับ

2. คลื่นโทรทัศน์และไมโครเวฟ

คลื่นโทรทัศน์และไมโครเวฟมีความถี่ช่วง 108 - 1012 Hz มีประโยชน์ในการสื่อสาร แต่จะไม่สะท้อนที่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ แต่จะทะลุผ่านชั้นบรรยากาศไปนอกโลก ในการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์จะต้องมีสถานีถ่ายทอดเป็นระยะ ๆ เพราะสัญญาณเดินทางเป็นเส้นตรง และผิวโลกมีความโค้ง ดังนั้นสัญญาณจึงไปได้ไกลสุดเพียงประมาณ 80 กิโลเมตรบนผิวโลก อาจใช้ไมโครเวฟนำสัญญาณจากสถานีส่งไปยังดาวเทียม แล้วให้ดาวเทียมนำสัญญาณส่งต่อไปยังสถานีรับที่อยู่ไกล ๆ

เนื่องจากไมโครเวฟจะสะท้อนกับผิวโลหะได้ดี จึงนำไปใช้ประโยชน์ในการตรวจหาตำแหน่งของอากาศยาน เรียกอุปกรณ์ดังกล่าวว่า เรดาร์ โดยส่งสัญญาณไมโครเวฟออกไปกระทบอากาศยาน และรับคลื่นที่สะท้อนกลับจากอากาศยาน ทำให้ทราบระยะห่างระหว่างอากาศยานกับแหล่งส่งสัญญาณไมโครเวฟได้

3. รังสีอินฟาเรด (infrared rays)

รังสีอินฟาเรดมีช่วงความถี่ 1011 - 1014 Hz หรือความยาวคลื่นตั้งแต่ 10-3 - 10-6 เมตร ซึ่งมีช่วงความถี่คาบเกี่ยวกับไมโครเวฟ รังสีอินฟาเรดสามารถใช้กับฟิล์มถ่ายรูปบางชนิดได้ และใช้เป็นการควบคุมระยะไกลหรือรีโมทคอนโทรลกับเครื่องรับโทรทัศน์ได้

4. แสง (light)

แสงมีช่วงความถี่ 1014Hz หรือความยาวคลื่น 4x10-7 - 7x10-7 เมตร เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ประสาทตาของมนุษย์รับได้ สเปคตรัมของแสงสามารถแยกได้ดังนี้

สี
ความยาวคลื่น (nm)

ม่วง
380-450

น้ำเงิน
450-500

เขียว
500-570

เหลือง
570-590

แสด
590-610

แดง
610-760



5. รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet rays)

รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสีเหนือม่วง มีความถี่ช่วง 1015 - 1018 Hz เป็นรังสีตามธรรมชาติส่วนใหญ่มาจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ซึ่งทำให้เกิดประจุอิสระและไอออนในบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ รังสีอัลตราไวโอเลต สามารถทำให้เชื้อโรคบางชนิดตายได้ แต่มีอันตรายต่อผิวหนังและตาคน

6. รังสีเอกซ์ (X-rays)

รังสีเอกซ์ มีความถี่ช่วง 1016 - 1022 Hz มีความยาวคลื่นระหว่าง 10-8 - 10-13 เมตร ซึ่งสามารถทะลุสิ่งกีดขวางหนา ๆ ได้ หลักการสร้างรังสีเอกซ์คือ การเปลี่ยนความเร็วของอิเล็กตรอน มีประโยชน์ทางการแพทย์ในการตรวจดูความผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกาย ในวงการอุตสาหกรรมใช้ในการตรวจหารอยร้าวภายในชิ้นส่วนโลหะขนาดใหญ่ ใช้ตรวจหาอาวุธปืนหรือระเบิดในกระเป๋าเดินทาง และศึกษาการจัดเรียงตัวของอะตอมในผลึก

7. รังสีแกมมา ( -rays)

รังสีแกมมามีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้ามีความถี่สูงกว่ารังสีเอกซ์ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์และสามารถกระตุ้นปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้ มีอำนาจทะลุทะลวงสูง


--------------------------------------------------------------------------------



คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Radiation)
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นรูปแบบหนึ่งการถ่ายเทพลังงาน จากแหล่งที่มีพลังงานสูงแผ่รังสีออกไปรอบๆ โดยมีคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ ความยาวคลื่น (l) โดยอาจวัดเป็น nanometer (nm) หรือ micrometer (mm) และ ความถี่คลื่น (f) ซึ่งจะวัดเป็น hertz (Hz) โดยคุณสมบัติทั้งสองมีความสัมพันธ์ผ่านค่าความเร็วแสง ในรูป c = fl






พลังงานของคลื่น พิจารณาเป็นความเข้มของกำลังงาน หรือฟลักซ์ของการแผ่รังสี (มีหน่วยเป็น พลังงานต่อหน่วยเวลาต่อหน่วยพื้นที่ = Joule s-1 m-2 = watt m-2) ซึ่งอาจวัดจากความเข้มที่เปล่งออกมา (radiance) หรือความเข้มที่ตกกระทบ (irradiance)










จากภาพเป็นการแสดงช่วงความยาวคลื่นของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเครื่องมือวัด (Sensor) ของดาวเทียมหรืออุปกรณ์ตรวจวัดจะออกแบบมาให้เหมาะสมกับช่วงความยาวของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงคลื่นต่างกัน เช่น

ช่วงรังสีแกมมา (gamma ray : l < 0.1 nm) และช่วงรังสีเอ็กซ์ (x-ray : 0.1 nm < l < 300 nm) เป็นช่วงที่มีพลังงานสูง แผ่รังสีจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ หรือจากสารกัมมันตรังสี
ช่วงอัลตราไวโอเลต เป็นช่วงที่มีพลังงานสูง เป็นอันตรายต่อเซลสิ่งมีชีวิต
ช่วงคลื่นแสง เป็นช่วงคลื่นที่ตามนุษย์รับรู้ได้ ประกอบด้วยแสงสีม่วง ไล่ลงมาจนถึงแสงสีแดง
ช่วงอินฟราเรด เป็นช่วงคลื่นที่มีพลังงานต่ำ ตามนุษย์มองไม่เห็น จำแนกออกเป็น อินฟราเรดคลื่นสั้น และอินฟราเรดคลื่นความร้อน

ที่มา www.school.net.th/library/snet3/saowalak/.../e_wave.htm

คลื่นกล

คลื่นกล (mechanical wave) คือ คลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลาง ในการถ่ายโอนพลังงาน แบ่งเป็น
- คลื่นตามขวาง เกิดจากอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นน้ำ
- คลื่นตามยาว เกิดจากอนุภาคของตัวกลางเคลื่นที่แนวเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น สปริง เสียง

องค์ประกอบของคลื่น
- คลื่นตามขวาง ประกอบด้วย สันคลื่น ท้องคลื่น แอมพลิจูด ความยาวคลื่น ความถี่ คาบ อัตราเร็วของคลื่น
- คลื่นตามยาว ประกอบด้วย ส่วนอัด ส่วนขยาย ความยาวคลื่น

สมบัติของคลื่น มี 4 ประเภท
1. การสะท้อน
2. การหักเห
3. การเลี้ยวเบน
4. การแทรกสอด

ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=077319e94ff39886

สืบค้นเว็บที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังศึกษาที่ตนเองยังไม่เข้าใจ (คลื่น)

ชนิดของคลื่น
คลื่นเป็นปรากฎการณ์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่รูปแบบหนึ่ง คลื่นสามารถจำแนกตามลักษณะต่าง ๆได้ดังนี้
1. จำแนกตามลักษณะการอาศัยตัวกลาง

1.1 คลื่นกล (Mechanical wave) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลางซึ่งอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซก็ได้ ตัวอย่างของคลื่นกลได้แก่ คลื่นเสียง คลื่นที่ผิวน้ำ คลื่นในเส้นเชือก เป็นต้น

1.2 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง สามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้ เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุและโทรทัศน์ คลื่นไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น

2. จำแนกตามลักษณะการเคลื่อนที่

2.1 คลื่นตามขวาง (Transverse wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในทิศตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น ตัวอย่างของคลื่นตามขวางได้แก่ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

2.2 คลื่นตามยาว (Longitudinal wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ไปมาในแนวเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น ตัวอย่างของคลื่นตามยาวได้แก่ คลื่นเสียง

3. จำแนกตามลักษณะการเกิดคลื่น

3.1 คลื่นดล (Pulse wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดถูกรบกวนเพียงครั้งเดียว

3.2 คลื่นต่อเนื่อง (Continuous wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดถูกรบกวนเป็นจังหวะต่อเนื่อง

ส่วนประกอบของคลื่น

สันคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งสูงสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางบวก

ท้องคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางลบ

แอมพลิจูด (Amplitude) เป็นระยะการกระจัดมากสุด ทั้งค่าบวกและค่าลบ

ความยาวคลื่น (wavelength) เป็นความยาวของคลื่นหนึ่งลูกมีค่าเท่ากับระยะระหว่างสันคลื่นหรือท้องคลื่นที่อยู่ถัดกัน ความยาวคลื่นแทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นเมตร (m)

ความถี่ (frequency) หมายถึง จำนวนลูกคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ในหนึ่งหน่วยเวลา แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (s-1) หรือ เฮิรตซ์ (Hz)

คาบ (period) หมายถึง ช่วงเวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ครบหนึ่งลูกคลื่น แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นวินาทีต่อรอบ (s)

อัตราเร็วของคลื่น (wave speed) หาได้จากผลคูณระหว่างความยาวคลื่นและความถี่

สมบัติของคลื่น (wave properties)
คลื่นทุกชนิดแสดงสมบัติ 4 อย่าง คือการสะท้อน การหักเห การแทรกสอด และการเลี้ยวเบน

การสะท้อน (reflection) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ไปกระทบสิ่งกีดขวาง แล้วเปลี่ยนทิศทางกลับสู่ตัวกลางเดิม

การหักเห (refraction) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่ต่างกัน แล้วทำให้อัตราเร็วเปลี่ยนไป

การเลี้ยวเบน (diffraction) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ไปพบสิ่งกีดขวาง ทำให้คลื่นส่วนหนึ่งอ้อมบริเวณของสิ่งกีดขวางแผ่ไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางนั้น

การแทรกสอด (interference) เกิดจากคลื่นสองขบวนที่เหมือนกันทุกประการเคลื่อนที่มาพบกัน แล้วเกิดการซ้อนทับกัน ถ้าเป็นคลื่นแสงจะเห็นแถบมืดและแถบสว่างสลับกัน ส่วนคลื่นเสียงจะได้ยินเสียงดังเสียงค่อยสลับกัน

--------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : 1. สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ, หนังสือเรียนวิชาฟิสิกส์ 1 ว 422

หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย

พุทธศักราช 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533)
2. สุชาติ สรวิสูตร, วารสารไฮเอ็ด ม.ปลาย (วิทย์) ปีที่ 1 ฉบับที่

3.http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet3/saowalak/wave/wave.htm

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อสอบ วิทย์53-57


ตอบ 3 ในทุกวันจะปรากฎมีน้ำขึ้นและน้ำลงวันละ 2 ครั้ง น้ำขึ้นและน้ำลงเป็นผลมาจากแรงดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ดวงจันทร์นั้นเป็นบริวารของโลก เมื่อหมุนผ่านไปจุดใดของโลกก็จะทำให้น้ำบนผิวโลกขึ้นพร้อมกัน 2 ส่วน คือ บริเวณที่อยู่ตรงกับดวงจันทร์ และอีกส่วนหนึ่งคือ บริเวณที่อยู่ตรงข้ามกับจุดที่มีน้ำขึ้น ในรอบ 1 ปี จะมีน้ำขึ้นมากที่สุด 2 ครั้ง
น้ำขึ้นน้ำลงน้ำขึ้นน้ำลงเกิดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ถึงแม้ว่าดาวอาทิตย์จะมีมวล 27 ล้านเท่าของดวงจันทร์ แต่ดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลก 93 ล้านไมล์ ส่วนดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของโลกนั้น อยู่ห่างจากโลกเพียง 240,000 ไมล์ ดังนั้นดวงจันทร์ จึงส่งแรงดึงดูดมายังโลกมากกว่าดวงอาทิตย์ และน้ำที่เกิดจากแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์จะสูงเพียง ร้อยละ 46 ของระดับน้ำที่สูงจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์
น้ำซึ่งเป็นของเหลว เมื่อถูกแรงดึงดูดจากดวงจันทร์ ในขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านบริเวณนั้น น้ำก็จะสูงขึ้น ไปในทิศทางเดียวกับที่ดวงจันทร์ปรากฏ และบนผิวโลกในด้านตรงข้ามกับดวงจันทร์ น้ำจะสูงขึ้นด้วย เพราะอำนาจดึงดูดของดวงจันทร์ กับของโลกไปรวมกันในทิศทางนั้น และในตำแหน่งที่คนเห็นดวงจันทร์ อยู่สุดลับขอบฟ้า ตรงนั้นน้ำจะลดลงมากที่สุด จึงเท่ากับว่ามีน้ำขึ้น น้ำลง สองแห่งบนโลกในเวลาเดียวกัน

น้ำจะขึ้นสูง เต็มที่ทุกๆ 12 ชั่วโมง โดยประมาณ และหลังจากน้ำขึ้นเต็มที่แล้ว ระดับน้ำจะเริ่มลดลง ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง แต่เนื่องจากดวงจันทร์หมุนรอบโลกจากตะวันตกไปตะวันออก หนึ่งรอบกินเวลาประมาณ 29 วัน น้ำขึ้นและน้ำลงจึงช้ากว่าวันก่อน ไปประมาณ 50 นาที หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ในหนึ่งวัน หรือ 24 ชั่วโมง 50 นาที น้ำจะสูงขึ้น และลดลง 2 ครั้ง
ความแตกต่างระหว่างระดับน้ำสูงสุดกับระดับน้ำต่ำสุด แต่ละแห่งบนโลกจะไม่เท่ากัน โดยเฉลี่ยจะขึ้นหรือลงประมาณ 3-10 ฟุต ซึ่งสาเหตุประการหนึ่งเกิดจากตำแหน่งของดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์
เมื่อโลก และดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ มาอยู่ในแนวเดียวกัน ไม่ว่าดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์จะอยู่ข้างเดียว หรือคนละข้างกับโลก น้ำจะสูงขึ้นกว่าปกติ เรียกว่า น้ำเกิด (spring tide) ซึ่งจะเกิดขึ้นเดือนละ 2 ครั้ง คือใกล้วันขึ้น 15 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ
และเมื่อใดที่ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ อยู่ในแนวตั้งฉาก ซึ่งกันและกัน ระดับน้ำจะไม่สูงขึ้น แต่จะอยู่ในระดับเดิม ไม่ขึ้นไม่ลง เรียกว่า น้ำตาย จะเกิดขึ้นเดือนละ 2 ครั้ง เช่นเดียวกับน้ำเกิด คือใกล้วันขึ้น 8 ค่ำ และวันแรม 8 ค่ำ
ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งที่น้ำขึ้นมากขึ้นน้อย ลงมากลงน้อย เกี่ยวกับขนาดรูปร่างและความลึกของท้องมหาสมุทรด้วย อย่างเช่นเกาะแก่งต่างๆ จะต้านการขึ้นลงของกระแสน้ำได้มาก ในหมู่เกาะตาฮิติ ระดับน้ำจะขึ้นสูงเพียง 1 ฟุตเท่านั้น แต่บริเวณแผ่นดินที่เป็นรูปกรวย หันปากออกไปสู่ทะเล จะรับปริมาณของน้ำได้มาก เช่นปากอ่าวของแคว้น โนวาสโคเตียน แห่งแคนดีทางตะวันออกของอเมริกาเหนือ น้ำจะขึ้นสูงถึง 40 ฟุต

ที่มา http://www.icphysics.com/modules.php?name=News&file=article&sid=36

ข้อสอบวิทย์ 53-57


ตอบ 1

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic disturbance) โดยการทำให้สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสนามไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก หรือถ้าสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามขวาง ประกอบด้วยสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีการสั่นในแนวตั้งฉากกัน และอยู่บนระนาบตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง จึงสามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้

ที่มา http://physics.science.cmu.ac.th/Scripts/webboard/00752.html

ข้อสอบ วิทย์53-57


ตอบ 1

เมื่อเราสบัดเชือกขึ้นลง จะทำให้เกิดคลื่นตามขวางขึ้นในเส้นเชือก โดยคลื่นที่เกิดขึ้นจะเคลื่อนที่ไปยังอีกปลายด้านหนึ่งของเชือก
เมื่อเราสบัดเชือกเร็วขึ้น ความยาวคลื่นในเส้นเชือกก็จะลดลงโดยถือว่าความเร็วของคลื่นในเส้นเชือกด้วยอัตราเร็วคงตัว
เมื่อเราสบัดเชือกขึ้นลง ให้เกิดคลื่นดล ผ่านรอยต่อของเส้นเชือก 2 เส้นที่มีขนาดไม่เท่ากัน เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปพบรอยต่อจะเกิด
การสะท้อนและหักเห จากรูปคลื่นเคลื่อนที่จากความเร็วมากไปหาความเร็วน้อย โดยคลื่นสะท้อนจะมีเฟสเปลี่ยนไป 180 องศา
เมื่อเราสบัดเชือกให้เกิดคลื่นดล ในเส้นเชือกซึ่งปลายด้านหนึ่งตรึงไว้ คลื่นสะท้อนจะมีเฟสเปลี่ยนไป 180 องศา
เมื่อเราสบัดเชือกให้เกิดคลื่นดล ในเส้นเชือกปลายอิสระ คลื่นสะท้อนจะมีเฟสคงเดิม

ที่มา http://www.pt.ac.th/ptweb/prajead/wave/basic/basic1/tran.html

ข้อสอบวิทย์ 53-57


ตอบ 4

ที่มา http://phnote.blogspot.com/2007/05/blog-post_07.html

ข้อสอบวิทย์ ข้อ 53-57


ตอบ 3


เรื่อง การสะท้อนของแสงและการเกิดภาพจากกระจกเงา

1. การสะท้อนของแสง
1.1 สัญลักษณ์ของลำแสง

การเขียนแนวลำแสงหรือรังสีให้เขียนเป็นเส้นตรงที่มีหัวลูกสรกำกับแกนแนวลำแสง และเรียกสัญลักษณ์นี้ว่า รังสีแสง รังสีแสงมีหลายอย่าง เช่น รังสีขนาน รังสีลู่เข้า รังสีลู่ออก



รังสีขนาน รังสีลู่เข้า รังสีลู่ออก

การสะท้อนแสงบนกระจกเงาระนาบสามารถเขียนรูปได้ดังนี้


รังสีตกกระทบ (Incident Ray) คือรังสีของแสงที่พุ่งเข้าหาพื้นผิวของวัตถุ
รังสีสะท้อน (Reflected Ray) คือรังสีของแสงที่พุ่งออกจากพื้นผิวของวัตถุ
เส้นปกติ (Normal) คือ เส้นที่ลากตั้งฉากกับพื้นผิวของวัตถุตรงจุดที่แสงกระทบ
มุมตกกระทบ (Angle of Incidence) คือมุมที่รังสีตกกระทบทำกับเส้นปกติ
มุมสะท้อน (Angle of Reflection) คือมุมที่รังสีสะท้อนทำกับเส้นปกติ

กฎ การสะท้อนของแสง (The Laws of Reflection) มี 2 ข้อ ดังนี้
1. รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นปกติจะอยู่ในระนาบเดียวกัน
2. มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน

ที่มา http://thenestacademy.is.in.th/?md=webboard&ma=showtopic&id=402

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิทย์ o-net 2550

http://cid-7172dc903208680c.skydrive.live.com/browse.aspx/%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c%20%e0%b8%a1.6?uc=1&nl=1

นาย นักรบ นุรักษ์ดีศรี ม.6/2 เลขที่ 11
น.ส พรกัมปนาถ แสงหล่อ ม.6/2 เลขที่ 30